บทที่ 1 ความหมายของสุนทรียศาสตร์



            มีผู้รู้หลายท่านให้ความหมายเกี่ยวกับคำว่า  สุนทรีย์และสุนทรียศาสตร์”  ไว้มากมายหลายท่าน  ในที่นี้ขอใช้ความหมายจากหนังสือพจนานุกรมศัพท์ศิลป์  ฉบับไทย อังกฤษ  (2530 : 7)  ได้อธิบายความหมายของคำว่า  สุนทรีย์และสุนทรียศาสตร์  Aesthetic  ว่า  หมายถึง  วิชาที่ว่าด้วยความนิยมความงามหรือความนิยมในความงาม  เป็นอารมณ์  ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งงดงาม  ไพเราะรื่นรมย์  ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรืองานศิลปะ  ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยประสบการณ์
            การศึกษาอบรมและพัฒนาเป็นรสนิยมความรู้และความเข้าใจทางประวัติศาสตร์  สามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางสุนทรียภาพให้เพิ่มขึ้น  รู้และเข้าใจคุณค่าของความงาม  มีผู้รู้หลายท่านให้ความหมายเกี่ยวกับคำว่า  สุนทรีย์และสุนทรียศาสตร์”  ไว้มากมายหลายท่าน  ในที่นี้ขอใช้ความหมายจากหนังสือพจนานุกรมศัพท์ศิลป์ฉบับไทย อังกฤษ  (2530 : 7)  ได้อธิบายความหมายของคำว่า  สุนทรีย์และสุนทรียศาสตร์  Aesthetic  ว่า  หมายถึง  วิชาที่ว่าด้วยความนิยมความงามหรือความนิยมในความงาม  เป็นอารมณ์  ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งงดงามไพเราะรื่นรมย์  ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรืองานศิลปะ  ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยประสบการณ์  การศึกษาอบรม  และพัฒนาเป็นรสนิยมความรู้และความเข้าใจทางประวัติศาสตร์  สามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางสุนทรียภาพให้เพิ่มขึ้น  รู้และเข้าใจคุณค่าของความงาม
            อเล็กซานเดิร์  กอตตรีบ  โบมการ์เด้น  (Alexander  Gottrib  Baumgaten)  นักปรัชญาชาวเยอรมัน  ได้ตีพิมพ์ผลงานเป็นครั้งแรก  เริ่มจากงานเรื่อง  The  Aestheteca  และเป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า  สุนทรียศาสตร์ว่า  Aesthetic  ซึ่งโบมการ์เด้นใช้อธิบาย  การรับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส  ซึ่งเป็นสิ่งที่โบมการ์เด้นค้นพบในบทกวีนิพนธ์  และขยายไปสู่ศิลปะสาขาอื่น ๆ และได้ใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์เป็นครั้งแรกในหนังสือของเขเอง  ชื่อผลสะท้อนของกวีนิพนธ์  เขาได้พิจารณาคำจากในภาษากรีก  คือ  การกำหนดรู้  Aesthesis  และจึงเริ่มใช้คำว่า  Aesthetics  อธิบายการรับรู้ทางประสาทสัมผัส  จนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสุนทรียศาสตร์  และยังได้อธิบายความหมายของคำว่าสุนทรียศาสตร์  (Aesthetics)  ไว้ว่า
1.       สุนทรียศาสตร์  เป็นความรู้จากประสบการณ์  (Conceptual  Knowledge)  ซึ่งเป็นการนำเอาเหตุผลมาตัดสินความงาม
2.     สุนทรียศาสตร์  เป็นความรู้โดยตรง  (Intuitive  knowledge)  เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน  หรือเรียกว่าการหยั่งรู้เป็นความรู้ที่สูงกว่าปกติและเป็นการนำความรู้ที่ใช้มาตัดสินความงาม  โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุผลอื่นมาเกี่ยวข้อง

Aesthetic  สุนทรียศาสตร์  คือ  สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา  เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องของความงาม  ความนิยมในความงาม  เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหามาตรฐานของความงามทางด้านศิลปะ  ทั้งวิจิตรศิลป์  (Fine  Art)  และประยุกต์ศิลป์  (Applied  Art)  ซึ่งในสมัยกรีกโบราณใช้กล่าวถึงเรื่องของความงาม  ความสะเทือนใจ  ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้  (Sense  perception)  และพัฒนา

การเรียนรู้เพื่อสัมผัสความงาม
            การรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งมี  3  วิธี
1.       แบบโดยตั้งใจ  (Intention  or  Interesting)  มีความสนใจและความตั้งใจที่จะมองเห็นโดยตรง
2.       แบบโดยไม่ตั้งใจ  (Un – Intention  or  Disinteresting)  รับรู้ค่าความงามที่มีอยู่ในธรรมชาติแบบไม่รู้ตัว
3.     แบบรสนิยม  (Taste)  เป็นความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่า  สามารถเลือกในสิ่งที่ชอบเลือกสรรพคุณ  ให้กับตนเองได้  มิใช่ความชอบตามกระแสนิยม

สภาวะธรรมชาติมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ทางด้านความงาม
            การศึกษาสุนทรียศาสตร์เป็นลักษณะของการเรียนรู้สภาวะธรรมชาติโดยตรง  ซึ่งความงามในธรรมชาติเองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  จะแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  คือ
1.       การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ  (Natural  Movement)  ได้แก่  การขึ้น ลง  ของดวงอาทิตย์  เป็นต้น
2.     ภาพลักษณ์ตามธรรมชาติ  (Natural Imagery)  เช่น  การพบเห็นความงามตามธรรมชาติ  เช่น  ดอกไม้  เมฆ  ทะเล  ภูเขา  ฯลฯ
3.       เสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  (Natural  Sound)  เช่น  การฟังเสียงสัตว์หรือเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นต้น

ความแตกต่างของสุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญากับเชิงพฤติกรรม
1.     สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา  (Philosophical  Aesthetics)  เป็นการเรียนรู้โดยการสนทนา  ถกเถียง  บรรยาย  อาศัยเรื่องความจริงที่สัมผัสได้  (Reality)  ข้อเท็จจริงที่อธิบายได้  (Fact)  และความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง  (Truth)
2.     สุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรม  (Psychological  Aesthetics)  เป็นการปฏิบัติให้เกิดประสบการณ์สุนทรีย  เป็นการเรียนรู้ด้วยการฝึกฝน

ซึ่งความรู้ทั้ง  2  แบบนี้ต้องอาศัยสุนทรียะวัตถุ  (Aesthetics  Objects)  ทั้งวัตถุทางธรรมชาติ  (Natural  object)  และวัตถุทางศิลปกรรม  (Artistic  Object)  แล้วนำประสบการณ์ตรงมาเป็นรูปแบบของการสร้างสรรค์งานศิลปะ  ซึ่งแบ่งออกเป็น  3  ฐานศาสตร์  คือ
1.     ฐานศาสตร์ทางการเห็น  ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  เป็นต้น
2.       ฐานศาสตร์ของการได้ยิน  ว่าด้วยเรื่องของดนตรี  การใช้เสียงอย่างมีระบบ  เกี่ยวเนื่องกับตัวโน้ต
3.     ฐานศาสตร์ของการเคลื่อนไหว  ว่าด้วยเรื่องละครและการแสดงต่าง ๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยใช้ความคิดและการสร้างสรรค์

สุนทรียภาพ  คือ  ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่มีความงาม  ความไพเราะ  และความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของความงามจะก่อให้เกิดประสบการณ์  และถ้าได้ผ่านการศึกษาอบรมจนเป็นนิสัยจะกลายเป็นรสนิยม  (Taste)  ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากปฏิกิริยาของการรับรู้ทางการเห็น  การฟัง  และเป็นที่มาของการรับรู้ความงามทางด้านทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฎศิลป์  โดยการรับรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้จะมีอยู่  แบบ  คือ  แบบตั้งใจ  แบบไม่ตั้งใจ  หรือแบบที่เลือกสรรตามความ  พอใจที่จะรับรู้  โดยอาศัยองค์ประกอบของสุนทรียวัตถุ  คือ  วัตถุทางธรรมชาติ  วัตถุทางศิลปกรรม  และองค์ประกอบของประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ  แต่ก็ต้องประกอบด้วยคุณค่าทางความงามและตัวของผู้รับรู้ด้วย
ดังนั้นถ้าจะศึกษาเรื่องของความงามก็จะต้องกล่าวถึง  สุนทรียทัศน์  คือ  มนุษย์เป็นคนตัดสินความงาม  มนุษย์จึงเป็นผู้พบเห็นความงาม  ถ้าไม่มีมนุษย์ความงามก็ไม่เกิดหรือความงามไม่ได้อยู่ที่มนุษย์  แต่ความงามอยู่ที่วัตถุถึงมนุษย์ไม่พบเห็นความงาม  ความงามก็ยังคงอยู่หรือความงามไม่ได้ขึ้นอยู่กับทั้ง  2  สิ่ง  แต่ความงามเกิดจากความสัมพันธ์ของทั้ง  2  สิ่ง  หรือความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจกับสิ่งที่ถูกสนใจ  หรืออีกประการหนึ่งคือ  ความงาม  ความรู้สึกเพลิดเพลิน  เป็นความชอบของแต่ละบุคคล